ประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2564 Mahidol Sustainable Development Conference 2021 มหาวิทยาลัยมหิดล
ประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2564 Mahidol Sustainable Development Conference 2021 มหาวิทยาลัยมหิดล
การประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2564
Mahidol Sustainable Development Conference 2021
“Actions towards Sustainability Goals”
การประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2564 ภายใต้หัวข้อ “Actions towards Sustainability Goals” ที่เปิดรับผลงานวิชาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย ประกอบด้วย ขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ลดความเหลื่อมล้ำ เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยแบ่งกลุ่มหัวข้อความยั่งยืนสำหรับการนำเสนอผลงาน เป็น 4 กลุ่ม คือ
- Sustainable Environment: สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
- Sustainable Health: สุขภาพที่ยั่งยืน
- Sustainable Social Enterprise: เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและธุรกิจเพื่อสังคม
- Sustainable Society: สังคมที่ยั่งยืน
กำหนดการประชุม
ลงทะเบียนส่งผลงาน Click!! : บัดนี้ – 15 สิงหาคม 2564
พิจารณาผลงาน : 16 สิงหาคม – 15 ตุลาคม 2564
ประกาศผลของผลงานที่ผ่านการพิจารณา : 1 พฤศจิกายน 2564
นำเสนอผลงาน : 2 ธันวาคม 2564
รูปแบบการนำเสนอผลงาน : นำเสนอผ่านระบบ WebEx
**ผลงานวิชาการที่ได้รับการพิจารณาผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการวิชาการ (Peer Review) จะได้รับการเผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์ (Proceeding Online)
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่นำผลงานมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น
กรณีนำผลงานวิจัยมาเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น มหาวิทยาลัยมีแนวปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ซึ่งกำหนดว่าผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนหรือสัตว์ทดลองขอให้แสดงหลักฐานการพิจารณารับรองการทำวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลอง (แล้วแต่กรณี)
งานวิจัย ประกอบด้วย
1.1 การสร้างสมมุติฐานหรือการกำหนดแนวคิด
1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับสมมุติฐานหรือแนวคิด
1.3 วิธีวิจัยที่เชื่อถือได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.4 ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
1.5 การวิจารณ์ เพื่อแสดงหลักการหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
1.6 การอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่ถูกต้องตามระบบสากล
1.7 บทคัดย่อที่แสดงการสรุปของ (1.1) – (1.5)
บทความทางวิชาการ ประกอบด้วย
2.1 การนำความรู้ที่แสดงเหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์
2.2 กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์
2.3 บทสรุป
2.4 การอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่ถูกต้องตามระบบสากล
ด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล 2564 Mahidol Sustainable Development Conference 2021 ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2564 ประกอบด้วย กิจกรรมนิทรรศการ กิจกรรมการเสวนาเกี่ยวกับความยั่งยืน และการประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2564 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และส่งเสริมการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในการนี้ จึงขอประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน 2564 Mahidol Sustainable Development Conference 2021 เพื่อเรียนเชิญร่วมนำเสนอผลงานวิชาการที่สอดคล้องกับตำแหน่งการปฏิบัติงาน ภายใต้หัวข้อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Environment) สุขภาพที่ยั่งยืน (Sustainable Health) เศรศฐกิจที่ยังยืนและธุรกิจเพื่อสังคม (Sustainable Social Enterprise) และสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Society) ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ 02-441-4400 ต่อ 1120-5 หรือ https://op.mahidol.ac.th/pe/mahidol-sustainability-week/