สรุปประเด็น Loei Forum 2020 การพัฒนาโจทย์วิจัยและนวัตกรรมจังหวัดเลยอย่างสร้างสรรค์
สรุปประเด็น Loei Forum 2020 การพัฒนาโจทย์วิจัยและนวัตกรรมจังหวัดเลยอย่างสร้างสรรค์
กรอบประเด็นช่วงเช้า
เกษตร อาหาร และทรัพยากรพื้นถิ่น
ประเด็นสำคัญ>> ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี
ปัญหาที่พบ
ต้นน้ำ
- การขาดความตระหนักและองค์ความรู้ในเชิงลึก ในการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี
- ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิต/ลดการใช้สารเคมี
- ขาดความรู้ในการวางแผนการผลิต
- การแหล่งน้ำสำหรับการทำการเกษตร
- ขาดการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน/ ขาดการจัดการพื้นที่
- การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และตามกระแส
- เกษตรกรที่ทำเกษตรมีอายุค่อนข้างเยอะ
กลางน้ำ
- ขาดการเพิ่มมูลค่าจากผลผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์
- ขาดข้อมูลงานวิจัยที่จะไปเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่นน้ำผึ้งสาบเสือ
ปลายน้ำ
- ต้องการเพิ่มช่องทางการตลาด
- นโยบายภารรัฐ
การพัฒนาเมืองและการเรียนรู้
การวางผังเมือง
-มีการวางผังเมืองที่รองรับการเจริญเติบโตของความเป็นเมือง
-มีระบบการขนส่งสาธารณะที่ทั่วถึง เดินทางเข้าเมืองสะดวก
-การปรับปรุงทัศนียภาพทั้งก่อนเข้าเมืองและในเมือง
Smart City
-พัฒนา Digital Platform ในเมืองเลย ที่รวบรวมข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พัก Landmark จุด Check-in และของฝาก
-Smart farm
-เพิ่มพื้นที่ Co-working Space ในเมืองเลยให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย
สิ่งแวดล้อม
-การจัดพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ
-การจัดการขยะในท้องถิ่นตั้งแต่ต้นทาง
-การคัดแยกขยะรีไซเคิล
-น้ำเสียยังไม่ถูกออกแบบระบบการจัดการอย่างถูกต้อง
-มลพิษจากการเผาป่า
-การเปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนของเสียให้มีมูลค่า
การพัฒนาการศึกษา
-คุณภาพการศึกษาต่างกันในโรงเรียนแต่ละแห่ง
-เกิดความเหลื่อมล้ำ “เด็กในเมือง/เด็กรอบนอก”
-เพิ่มโอกาสในการค้นหาตัวตนของนักเรียน
สาธารณสุขเมืองเลย
-การส่งเสริมสุขภาพชุมชน
-ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ
-การจัดบริการสำหัรบผู้สูงอายุและผู้พิการ
-นวัตกรรมทางสุขภาพเพื่อลดการแออัดของการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล
เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้เมืองเลยน่าอยู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติ ทั้งด้านการขนส่งมวลชน การศึกษา เศรษฐกิจ รายได้ เทคโนโลยี และสุขภาพ
อุตสาหกรรมและบริการ
จุดเด่น/จุดแข็ง/โอกาส อุตสาหกรรมและบริการ จังหวัดเลย
- การท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีทุกอำเภอ
ผลผลิตน่าสนใจ เช่น อโวคาโด้
การพัฒนาเครื่องมือในการแนะนำ/เชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวแบบเดียวกันให้เกิดความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
- การท่องเที่ยวเชิงนวัตวิธีธรรม (ท่องเที่ยวทางเลือก)
สร้าง trend การท่องเที่ยวเฉพาะความสนใจ เช่น Art+Innovation creative tourism
การพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรให้น่าซื้อ
การนำนวัตกรรมมาสร้างอัตลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวจำได้ เช่น Art in the Farm
- ทรัพยากรธรรมชาติสวยงาม
- วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ชาติพันธุ์ ไทดำ
- การคมนาคมขนส่ง เนื่องจากอำเภอเมืองอยู่ศูนย์กลาง
- ภาคค้าปลีก ค้าส่ง ร้านอาหาร ขนส่ง ที่พัก เกษตร มีโอกาสเติบโต มี GDP และกระจายรายได้ในจังหวัด
- มีหน่วยงานภาครัฐที่คอยสนับสนุน คือ อทพ. ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- อาชีพที่มีแนวโน้มดี คือ มักคุเทศก์
ปัญหา/อุปสรรค
- หน่วยงานที่จะสนับสนุนมีมาก ไม่ทำงานร่วมกัน งานซ้ำซ้อน การใช้เงินไม่ได้ประสิทธิภาพ ได้แต่ปริมาณ
- การไม่มีเครื่องมือเชื่องโยงข้อมูล การทำงาน การส่งต่องานโดยเฉพาะหน่วยงานอื่นที่มีระดับเดียวกัน ไม่มีอำนาจสั่งการ
- การไม่ได้คัดเลือกพื้นที่ที่จะส่งเสริม ควรมีการแบ่งเกรด A,B,C
- นักท่องเที่ยวกระจุกตัวที่เชียงคาน ต้องหาจุดเด่นในอำเภออื่น
- การทำผิดจากวัฒนธรรมดั้งเดิม มีการสำรวจความคิดเห็นชาวบ้าน(เป็นชมรม มัคคุเทศก์) สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น การตักบาตรข้าวเหนียว
- การพัฒนาด้านต่างๆ เป็นหารทำตามฟังก์ชั่นตัวเอง ไม่ได้ถามคนอื่น
- ต้องหาแม่เหล็กใหม่ๆในอำเภออื่น มองทั้ง Customer jurney
- ยังไม่มี Digital Platform ที่รวมข้อมูลนักท่องเที่ยวและแนะนำสถานที่เหมาะกับ life style ของเขา
- การหาจุดร่วม ผลประโยชน์ของคนในชุมชน ไม่ใช่แค่ผฝ่ายเดียว
- ความขัดแย้งขอคนในพื้นที่ กับคนที่มาลงทุ่นในจังหวัดเลย
- ไม่ใช่ทุกชุมชนสามารถส่งเสริมเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวได้ (ควรผันตัวเองในชุมชนใน Value chain แทน เช่น Supply สินค้าแทน
- เกิดสินค้าลอกเลียนแบบ เพราะไม่สามารถออกแบบสินค้าที่หลากหลายได้เอง
- ไม่เกิดความยั่งยืน เมือรัฐออกมา ไม่เกิดความต่อเนื่อง
ความท้าทาย
- การสร้าง Inventory ด้านนวัตกรรมที่ถูกต้องบน Digital Platform
แบ่งกลุ่มเช่น ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทางวัฒนธรรม
ทำ Data และตรวจสอบความถูกต้อง (Do/Dont) - ลดความเหลื่อมล้ำ หาจุดวางตัวร่วมกันเพื่อให้ผลประโยชน์เกิดกับทุกภาคส่วน
- การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน
- การพัฒนาผู้ประกอบการท่องเที่ยว
- การพัฒนาสินค้าของฝาก ให้สวยงาม น่าซื้อ พัฒนาแหล่งซื้อขาย เช่น ช่องทาง Online/Offline
- การพัฒนา Digital Platform
- การมีคณะกรรมการดูแลเรื่องโรคอุบัติใหม่
- การรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆเพื่อบริการจัดการ เช่น ข้อมูลขยะทั่วเมือง
ต้องการปรับเปลี่ยนจังหวัดเลยไปสู่อุตสาหกรรมการทท่องเที่ยวและเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน