วันพฤหัสบดี, มกราคม 23, 2025
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานผลการเข้าร่วมประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563

Spread the love

                         

 

                          ตามที่ ดร.เนตรนภา พงเพ็ชร รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563 ในวันที่ 23 เมษายน 2562 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร นั้น ได้มีการสรุปการประชุมและประเด็นสำคัญ ดังนี้

                             สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้กำหนดให้มีการวิจัยที่จะเปิดรับข้อเสนอโครงการ จำนวน 2 กรอบงานวิจัย ประกอบด้วย

                                                 1. กรอบการวิจัยภายใต้แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเป้าสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ จำนวน 7 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยของผู้บริโภค สมุนไพรไทย พืชสวน/พืชไร่ สัตว์เศรษฐกิจ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

                                                 2. กรอบการวิจัยด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 3 กรอบการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตร การวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแก่การเกษตรขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในภาคธุรกิจเกษตร

                             ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนโครงการวิจัย ดังนี้

                                                  – ข้อเสนอโครงการวิจัยที่ขอรับทุนของ สวก. ควรมีเนื้อหาการดำเนินงานครบกระบวนการตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ

                                                  – สมาชิกที่เป็นทีมงานวิจัยต้องมีความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับข้อเสนอโครงการที่เสนอขอข้อเสนอโครงการนั้นๆ

                                                  – ข้อเสนอโครงการวิจัยที่ขอทุนของ สวก. ที่ยังมีคนได้รับทุนน้อยหรือขาดแคลน ได้แก่ งานวิจัยด้านข้าว (เช่น ประเด็นกรอบการพัฒนาเกษตรกร) งานวิจัยด้านสมุนไพร (เช่น ประเด็นมาตรฐานสมุนไพร หรือแม้แต่เรื่องสายพันธุ์ของใบบัวบกและกระบวนการออกฤทธิ์ เป็นต้น) งานวิจัยด้านสัตว์เศรษฐกิจ (เช่น ประเด็นเรื่องกลไกทางการค้าและการตลาด) งานวิจัยด้านทุเรียน (เช่น การนำเปลือกทุเรียนมาใช้ประโชยน์ เช่น นำมาขึ้นรูปและดัดแปลงทำภาชนะใส่ทุเรียนเพื่อจำหน่ายหรือส่งออก หรือนำเปลือกทุเรียนมาทำ Biomass) รวมทั้งประเด็นเรื่องการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางการเกษตร (เช่น กฎเกณฑ์การนำเข้าสินค้าของจีนในปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตอย่างไรบ้าง)

                                                  – นักวิจัยต้องเขียน Output และ Outcome ให้ชัดเจน ว่างานวิจัยที่ทำใครได้รับผลประโยชน์บ้าง หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ได้มาตรฐานอะไร เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงงาน เช่น GAP และ อย. เป็นต้น

                               และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบการวิจัย ดังนี้

                                                    – ในปีงบประมาณ 2563 ระบบการจัดสรรค์ทุนวิจัยของ สวก. (ระบบ EPMS) จะมีการเชื่อมข้อมูลกับระบบ NRMS

                                                    – แนวโน้มการจัดสรรทุนของกระทรวงใหม่ อาจจะมีการอนุมัติทุนวิจัยที่ต้องใช้เวลาทำมากกว่า 1 ปีด้วย (multiyear)

                                                    – หากสถาบันการศึกษาใดๆ ต้องการทราบความต้องการหรือลักษณะการเขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้ทุนจาก สวก. สถาบันการศึกษานั้นๆ สามารถเชิญนักวิเคราะห์โครงการของ สวก. ไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้

Avatar photo

admin

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย